ประวัติศาสตร์ไทย ราชวงศ์แรกของไทย ก่อนที่จะสถาปนา อาณาจักรสุโขทัย
ประวัติศาสตร์ไทย เรามาเริ่มกันที่ ประวัติยุคก่อน อาณาจักรสุโขทัย เดิมที สุโขทัย เป็นสถานี การค้าของ แคว้นละโว้ บนเส้นทาง การค้าผ่าน คาบสมุทรระหว่าง อ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่ม แม่น้ำโขงตอนกลาง โดยคาดว่า เริ่มตั้งเป็นสถานี การค้าใน ช่วงปีพ.ศ ๑๗๐๐ โดยมี พ่อขุนศรีนาวนำถม เป็นผู้ปกครอง ภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย
แต่หลังจาก พ่อขุนศรีนาวนำถม ได้เสด็จสวรรคต ผู้ตรวจราชการ จากละโว้ ขอมสบาดโขลญลำพง ได้ฉวยโอกาส เข้ามายึดอำนาจ การปกครองในเมือง สุโขทัยเอาไว้ ระยะหนึ่ง จนส่งผลให้ พ่อขุนผาเมือง ซึ่งเป็นพระราชโอรส อารยธรรมโบราณ
ของพ่อขุนศรี นาวนำถม โดย ณ ขณะนั้น ดำรงตำแหน่ง เจ้าเมืองราด ตัดสินพระทัย ยึดดินแดนคืน สถาปนาเอกราช ให้กรุงสุโขทัย ขึ้นเป็นราชธานี ของชาวไทย โดยไม่ขึ้นตรงกับรัฐใด โดยหลังจาก ยึดเสร็จสิ้น พ่อขุนผาเมือง ได้ตัดสินใจ
ยกกรุงสุโขทัย ให้กับพ่อขุน บางกลางหาว ไปครอง ทำการสถาปนา พ่อขุนบางกลาวหาว ขึ้นเป็นกษัตริย์ เพื่อเป็นการ ตบตา ราชสำนักขอม ด้วยเหตุที่ว่า พ่อขุนผาเมือง มีพระมเหสี เป็นราชธิดา ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 จึงกลัวว่า ตนเองจะไม่ ถูกยอมรับจาก ชาวสุโขทัย
ประวัติศาสตร์ไทย มีกี่ราชวงศ์? เปลี่ยนผ่านหลายสมัย จนมาถึงราชวงศ์จักรี ที่สถาปนา รัตนโกสินทร์
ต่อมาใน สมัยของ อาณาจักรสุโขทัยหลังจากมี การสถาปนา อาณาจักรสุโขทัย ขึ้นเป็นราชธานี และมีพ่อขุนศรี อินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์แล้ว พระองค์ทรงดูแล อาณาจักรสุโขทัยเป็นอย่างดี โดยเมื่อถึง พระมหากษัตริย์ ลำดับที่3 อย่าง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงพระปรีชา สามารถทั้ง ในด้านการปกครอง กฎหมาย วิศวกรรม ศาสนา
โดยมีผลงาน ที่มีชื่อเสียง มากที่สุด ของพระองค์ ที่ปรากฏให้เห็น ก็คือ ศิลาจารึก ที่ค้นพบในสมัย ของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ที่อธิบายถึง ความเป็นมา วิถีชีวิตของ ชาวสุโขทัย โบราณ รวมไปถึง น้ำพระทัยของ
พระมหากษัตริย์ การพิพากษาอรรถคดี และอื่นๆอีกมาก นอกจากนี้ยังมี ผลงานทาง วิศวกรรมชลประทาน นั่นก็คือ เขื่อนสรีดภงค์ ที่เป็นการกัก เก็บน้ำไว้ใช้ ในยามแล้ง มีการทำท่อ ส่งน้ำจากตัวเขื่อน มาใช้ในเมือง มีประโยชน์มาก
พระมหากษัตริย์ อีกพระองค์ ที่มีชื่อเสียง เรื่องทำนุบำรุง ศาสนามากที่สุด ก็คือ พระเจ้าลิไท โดยในสมัยของ พระองค์นั้นมี การสร้างวัดมากที่สุด เลยก็ว่าได้ เรียกได้ว่า เป็นกษัตริย์สายบุญ ของแท้แน่นอน อาณาจักรสุโขทัยนั้นมีกษัตริย์
ปกครองหลากหลาย พระองค์ด้วยกัน โดยพระองค์สุดท้าย ในฐานะรัฐอิสระ คือ พระมหาธรรมราชาที่ ๔ ต่อจากนั้น อาณาจักรสุโขทัย ได้ถูกแบ่งส่วน ออกเป็นของ อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรล้านนา ในที่สุด จนสุดท้าย อาณาจักรทั้งหมด ก็ถูกรวมศูนย์กลับ เข้าเป็นดินแดน สวนหนึ่งของ อาณาจักรอยุธยา
ประวัติศาสตร์ไทย พระมหากษัตริย์ไทย บุคคลสำคัญ ที่คอยนำทัพ จัดการการภายใน ดูแลอาณาจักรต่างๆ
มาแวะเข้า พูดถึง อาณาจักรล้านนา ก่อนที่จะ ถูกควบรวมเข้าเป็น อาณาจักรอยุธยา ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ พญามังราย ได้มีคำสั่งให้ สร้างเมืองใหม่ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า เจียงใหม่ นั่นก็คือ เชียงใหม่ในปัจจุบัน เพื่อที่จะเป็น เมืองหลวงแห่งใหม่ของ อาณาจักรล้านนา โดยการก่อร้าง ครั้งนี้ก็ได้ พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง ได้เสด็จมาช่วย จนสำเร็จ เสร็จสิ้น
ต่อมาหลังจากนั้น อาณาจักรล้านนา ได้ถูกควบรวม เข้าเป็น อาณาจักรอยุธยา หลังจากมี การก่อตั้ง กรุงศรีอยุธยา ด้วยชัยภูมิ ที่เหมาะสมกว่า ทำให้อยุธยา เจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว ประกอบกับ ปัญหาการเมือง ภายในของ อาณาจักรสุโขทัย
มีความขัดแย้ง กันค่อนข้างสูง มีส่งผลให้ อาณาจักรอยุธยา สบโอกาสเข้าแทรกแซง พระมหากษัตริย์ กิจการภายในของ อาณาจักรสุโขทัย ในรัชกาลนี้ มีการรับไมตรี จากอยุธยาโดย การสมรสระหว่าง ราชวงศ์พระร่วง กับราชวงศ์สุพรรณภูมิ โดยมี
สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ เป็นราชบุตรจาก สองราชวงศ์ ได้เข้ามาครองอาณาจักรสุโขทัย และเมื่อแรกที่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านภิภพเป็น พระมหากษัตริย์ อาณาจักรอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้น พระยายุทธิษฐิระ
เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ หลังจากที่ พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจาก อยุธยาไปขึ้น กับล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงทรงเสด็จจาก กรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก ณ เมืองสองแคว พร้อมทั้งสร้าง กำแพงและค่ายคู
เรื่องราวประวัติศาสตร์ เมืองพิษณุโลกสองแคว หัวเมืองฝั่งเหนือ อันเลืองชื่อ
แล้วจึงสถาปนา ขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานี ฝ่ายเหนือของ อาณาจักรแทน อาณาจักรสุโขทัย ในเวลาเจ็ดปีให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงทรงตีเอา อาณาจักรสุโขทัย คืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมือง เหนือยังไม่เข้า สู่ภาวะที่น่า ไว้วางใจ จึงทรงตัดสิน พระทัยพำนัก ยังนครพระพิษณุโลก สองแควต่อ จนสิ้นรัชกาล ส่วนทาง
อยุธยานั้น ทรงได้สถาปนา สมเด็จพระบรมราชา ธิราชที่ ๓ พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแล อาณาจักรอยุธยา และหัวเมืองฝ่ายใต้ ด้วยความที่เป็น คนละประเทศมาก่อน และมีสงคราม อยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่าง อาณาจักรสุโขทัย
และ อาณาจักรอยุธยา จึงมิได้ปรองดองกัน จึงต้องแยกปกครอง โดยพระมหากษัตริย์ อยุธยา จะทรงสถาปนา พระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสาย ชาวสุโขทัย ปกครองพิษณุโลก ในฐานะราชธานี ฝ่ายเหนือ
และควบคุมหัวเมือง เหนือทั้งหมด จากนั้น พ.ศ ๒๑๒๗ หลังจากชนะ ศึกที่แม่น้ำสะโตง แล้วนั้น พระนเรศวรโปรดให้ ควบรวมเมืองเหนือ ทั้งหมดลงมา ผนวกรวมไว้ ที่ อาณาจักรอยุธยา พระมหากษัตริย์ เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ ที่กำลังจมาถึง ในไม่ช้านี้
หลักฐานทางประวิติศาสตร์ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ “กรุงเทพมหานคร” ราชธานีของไทย มาจนถึง ปัจจุบัน
มาจวบจน ถึงปัจจุบัน กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ “กรุงเทพมหานคร” เป็นราชธานีของไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับ ที่ตั้งของกรุงธนบุรี โดยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นครอง ราชสมบัติ เมื่อวันที่ ปี พ.ศ ๒๓๒๕ และทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา พระนครขึ้น โดยทำพิธี ตั้งเสาหลักเมือง
ของพระนครใหม่ ปีพ.ศ. ๒๓๒๕ ทั้งนี้ ได้พระราชทาน นามของพระนครว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน พระมหากษัตริย์ อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุ
กรรมประสิทธิ์”แปลว่า พระนครอันกว้าง ใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ ของพระแก้วมรกต เป็นพระมหานคร ที่ไม่มีใครรบชนะ ซึ่งถือว่าเป็น ชื่อที่วิเศษมากทีเดียว และยังเป็น ชื่อที่เอาไว้ ให้เด็กๆนักเรียน ได้ท่องกันมา ถึงปัจจุบัน